วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2559

Recorded Diary 12

April 1 , 2016


การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
          เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา



การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
  • การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
  • เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
  • เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้

การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)

  • การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
  • เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
  • มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
  • เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน


ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม

(Inclusive Education)

  • การศึกษาสำหรับทุกคน
  • รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
  • จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
  • ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
  • "สอนได้"
  • เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
     1. ครูไม่ควรวินิจฉัย
          - การวินิจฉัย หมายถึง การตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
          - จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
     2. ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
          - เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
          - ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
          - เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
     3. ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
          - พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
          - พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
          - ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
          - ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
          - ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา


วาดดอกบัว



Instructor Rating
       อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม แจกแจงรายละเอียดของวิชานี้ได้อย่างถูกต้องและเข้าใจง่าย


The Atmosphere in the Room

       ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์ใช้สอยได้ตามปกติ

Self Assessment
        เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ร่วมแสดงความคิดเห็น ตั้งใจร่วมทำกิจกรรม

Rating Friends
        เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา ส่วนใหญ่แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี

Recorded Diary 11

March 25 , 2016

อาจารย์แจกใบคำตอบคืน
พร้อมเฉลยข้อที่ถูก


Recorded Diary 10

March 18 , 2016

สอบกลางภาควิชานี้


Recorded Diary 9

March 11 , 2016

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
              - มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ
              - แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
              - มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
              - เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆไม่ได้
              - เด็กที่ควบคุถมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
              - ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย

ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
         - ความวิตกกังวล (Anxiety) ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว
         - ภาวะซึมเศร้า (Depression) มีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป
         - ปัญหาทางสุขภาพ และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต

การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ

    ด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)
         - ทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ ลักทรัพย์
         - ฉุนเฉียวง่าย หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด
         - กลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโกหก ชอบโทษผู้อื่น
         - เอะอะและหยาบคาย
         - หนีเรียน รวมถึงหนีออกจากบ้าน
         - ใช้สารเสพติด
         - หมกมุ่นในกิจกรรมทางเพศ
    ด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration)
         - จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น อาจไม่เกิน 20 วินาที
         - ถูกสิ่งต่างๆรอบตัวดึงความสนใจได้ตลอดเวลา
         - งัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใดๆ รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด
    สมาธิสั้น (Attention Deficit)
         - มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆได้ หยุดหยิดไปมา
         - พูดคุยตลอดเวลา มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น
         - มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ
     การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)
         - หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น
         - เฉื่อยชา และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา
         - ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก
   1. เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)
   2. เด็กออทิสติก (Autistic) หรือออทิสซึ่ม(Autisum)

เด็กสมาธิสั้น 
(Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorders)




      ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวช มีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ คือ
  • Inattentiveness
  • Hyperactivity
  • Impulsiveness


ยารักษาโรคสมาธิสั้นที่มีใช้ในประเทศไทย

Methylphenidate

Atomoxetine


เด็กพิการซ้อน
(Children with Multiple Handicaps)
  • เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
  • เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
  • เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
  • เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด

Skills
      สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้รับมือในการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านต่างๆได้

Instructor Rating
       อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม แจกแจงรายละเอียดของวิชานี้ได้อย่างถูกต้องและเข้าใจง่าย


The Atmosphere in the Room
       ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์ใช้สอยได้ตามปกติ

Self Assessment
        เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ร่วมแสดงความคิดเห็น ตั้งใจร่วมทำกิจกรรม

Rating Friends
        เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา ส่วนใหญ่แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี  

Recorded Diary 8

March 4 , 2016

ไม่มีการเรียนการสอน



Recorded Diary 7

February 26 , 2016

Midterm Exams


Recorded Diary 6

February 19 , 2016

ไม่มีการเรียนการสอน


Recorded Diary 5

February 12 , 2016

*.:。✿*゚HAPPY BIRTHDAY✿.。.:*
ย้อนหลัง อ.เบียร์ 
(◕‿◕✿) อาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ประจำวิชาที่น่ารัก (◕‿◕✿)





*.:。✿*゚‘゚・✿.。.:* •.★*◕‿-‘゚・✿.。.:**.:。✿*゚*.:。✿*゚‘゚・✿.。.:* •.★*◕‿-‘゚・✿.。.:**.:。✿*゚



เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

            เรียกย่อๆว่า L.D. (Learning Disability) เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย
          สาเหตุของ LD ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ (เชื่อมโยงภาพตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)และเกิดจากกรรมพันธุ์
           1. ด้านการอ่าน (Reading Disorder) เช่น อ่านหนังสือช้า ต้องสะกดทีละคำ อ่านออกเสียงไม่ชัด ออกเสียงผิด หรืออาจข้ามคำที่อ่านไม่ได้ไปเลย ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน หรือจับใจความสำคัญไม่ได้
           2. ด้านการเขียน (Writing Disorder) เช่น เขียนตัวหนังสือผิด สับสนเรื่องการม้วนหัวอักษร เขียนตามการออกเสียง เขียนสลับ
           3. ด้านการคิดคำนวน (Mathematic Disorder) เช่น ตัวเลขผิดลำดับ ไม่เข้าใจเรื่องการทดเลขหรือการยืมเลขเวลาทำการบวกหรือลบ ไม่เข้าใจเลขหลักหน่วย สิบ ร้อย แก้โจทย์ปัญหาเลขไม่ได้
           4. หลายๆด้านร่วมกัน


ออทิสติก

         เด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น ไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต
ลักษณะของเด็กออทิสติก
         - อยู่ในโลกของตนเอง
         - ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
         - ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
         - ไม่ยอมพูด 
         - เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ
     *** ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว ***

Skills
      นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการสอนเด็กพิเศษให้ถูกวิธี และส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้ดีขึ้น
Instructor Rating
       อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม แจกแจงรายละเอียดของวิชานี้ได้อย่างถูกต้องและเข้าใจง่าย


The Atmosphere in the Room
       ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์ใช้สอยได้ตามปกติ

Self Assessment
        เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ร่วมแสดงความคิดเห็น ตั้งใจร่วมทำกิจกรรม

Rating Friends
        เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา ส่วนใหญ่แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี


Recorded Diary 4

February  5 , 2016


เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา

               ความบกพร่องทางการพูด หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจากการพูดผิดปกติ ในด้านความชัดเจนในการปรุงแต่งระดับและคุณภาพของเสียง จังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด
   1. ความบกพร่องในด้านการปรุงเสียง (Articulator Disorders)
   2. ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด (Speech Flow Disorders)
   3. ความบกพร่องของเสียงพูด (Voice Disorders)

               ความบกพร่องทางภาษา หมายถึง การขาดความสามารถที่จะเข้าใจความหมายของคำพูด และ/หรือไม่สามารถแสดงความคิดออกมาเป็นถ้อยคำได้
   1. การพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าวัย (Delayed Language)
   2. ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่า Dysphasia หรือ Aphasia

เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
         โรคลมชัก เป็นลักษณะอาการที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมอง มีกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติและมากเกินปล่อยออกมาจากเซลล์สมองพร้อมกัน
             1. การชักในช่วงเวลาสั้นๆ (Petit Mal)
             2. การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)
             3. อาการชักแบบ (Partial Complex)
             4. อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)
             5. ลมบ้าหมู (Grand Mal)

        ซี.พี. (Cerebral Palsy) คือ การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ หรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด ระหว่างคลอด หรือหลังคลอด การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า เด็กซีพีมีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่างๆของสมองแตกต่างกัน

              1. กลุ่มแข็งแกร็ง (Spastic)
                    - Spastic Hemiplegia อัมพาตครึ่งซีก
                    - Spastic Diplegia อัมพาตครึ่งท่อนบน
                    - Spastic Paraplegia อัมพาตครึ่งท่อนล่าง
                    - Spastic Quadriplegia อัมพาตทั้งตัว
              2. กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง (Athetoid , Ataxia)

              3. กลุ่มอาการแบบผสม (Mixed) 
                - กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy)

               - โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic) 

                           - โปลิโอ (Poliomyelitis)

                - แขนขาด้วนแต่กำเนิด (Limb Deficiency)


Skills
      สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้รับมือในการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านต่างๆได้

Instructor Rating
       อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม แจกแจงรายละเอียดของวิชานี้ได้อย่างถูกต้องและเข้าใจง่าย


The Atmosphere in the Room
       ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์ใช้สอยได้ตามปกติ

Self Assessment
        เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ร่วมแสดงความคิดเห็น ตั้งใจร่วมทำกิจกรรม

Rating Friends
        เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา ส่วนใหญ่แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี  

Recorded Diary 3

January 29 , 2016




แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
     1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า " เด็กปัญญาเลิศ(Gifted Child) "
                    เด็กปัญญาเลิศ หมายถึง เด็กที่มีความสามารถทางสติปัญญา มีความถนัดเฉพาะทางสูงกว่าเด็กวัยเดียวกัน

       ลักษณะของเด็กปัญญาเลิศ

                 - พัฒนาการทางร่างกายและจิตใจสูงกว่าเด็กวัยเดียวกัน
                 - เรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย
                 - อยากรู้อยากเห็นอย่างจริงจัง ชอบซักถาม
                 - มีเหตุผลในการแก้ปัญหา
                 - จดจำได้รวดเร็วและแม่นยำ

เด็กฉลาดกับเด็กGifted แตกต่างกันอย่างไร

                       เด็กฉลาด                            เด็กGifted
                    - ตอบคำถาม                          - ตั้งคำถาม
                    - สนใจเรื่องที่ครูสอน                - เรียนรู้สิ่งที่สนใจ
                    - ชอบอยู่กับเด็กอายุเท่ากัน        - ชอบอยู่กับผู้ใหญ่หรือเด็กที่โตกว่า
                    - ความจำดี                             - อยากรู้อยากเห็น ชอบคาดคะเน
                    - เรียนรู้ง่ายและเร็ว                   - เบื่อง่าย
                    - เป็นผู้ฟังที่ดี                          - ชอบเล่า
                    - พอใจในผลงานของตน            - ติเตียนผลงานของตน
     2. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง แบ่งออกเป็น 9 ประเภท ได้แก่
                        1. เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
                        2. เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
                        3. เด็กที่บกพร่องทางการมองเห็น
                        4. เด็กที่บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
                        5. เด็กที่บกพร่องทางการพูดและภาษา
                        6. เด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
                        7. เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้
                        8. เด็กออทิสติก
                        9. เด็กพิการซ้อน


Skills


       สามารถนำความรู้ที่ได้ไปบูรณาการในการสอนเด็กแบบเรียนรวม และสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี

Instructor Rating
       อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม แจกแจงรายละเอียดของวิชานี้ได้อย่างถูกต้องและเข้าใจง่าย


The Atmosphere in the Room

       ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์ใช้สอยได้ตามปกติ

Self Assessment
        เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ร่วมแสดงความคิดเห็น ตั้งใจร่วมทำกิจกรรม

Rating Friends
        เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา ส่วนใหญ่แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี

Recorded Diary 2

January 22 , 2016




ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
         ทางการแพทย์มักจะเรียนเด็กที่มีความต้องการพิเศษนี้ว่า "เด็กพิการ"  ซึ่งหมายถึง เด็กที่มีความผิดปกติ มีความบกพร่อง สูญเสียสมรรถภาพ อาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกาย ทางสติปัญญา หรือทางจิตใจ
             ส่วนทางการศึกษาได้ให้ความหมายเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่าหมายถึง เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติ ทางด้านเนื้อหา หลักสูตร กระบวนการที่ใช้ และการประเมินผล

สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
           1. พันธุกรรม  เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามาตั้งแต่เกิดหรือสังเกตได้ชั่วระยะไม่นานหลังเกิด มีลักษณะผิดปกติแต่กำเนิดร่วมด้วย เช่น

ปากแหว่ง เพดานโหว่



ธาลัสซีเมีย


           2. โรคของระบบประสาท  เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการส่วนใหญ่มักมีอาการหรืออาการแสดงทางระบบประสาทร่วมด้วย ที่พบบ่อยคืออารการชัก
           3. การติดเชื้อ ติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หรือติดเชื้อรุนแรงภายหลังเกิด
           4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลซึ่ม  โรคที่ยังเป็นปัญหาของสาธารณสุขไทย คือ ไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ
           5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด  การเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย และภาวะขาดออกซิเจน
           6. สารเคมี เช่น แอลกอฮอล์ นิโคติน



           7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งการขาดสารอาหาร
           8. สาเหตุอื่นๆ

เล่นเกมทายใจ


ทำแบบทดสอบ IQ


 




Skills
      นำเกณฑ์การให้คะแนนที่ได้รับในวันนี้ไปเป็นมาตรฐานการมาเรียนและการทำงานของวิชานี้ทั้งภาคเรียน

Instructor Rating
       อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม แจกแจงรายละเอียดของวิชานี้ได้อย่างถูกต้องและเข้าใจง่าย


The Atmosphere in the Room
       ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์ใช้สอยได้ตามปกติ

Self Assessment
        เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ร่วมแสดงความคิดเห็น ตั้งใจร่วมทำกิจกรรม

Rating Friends
        เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา ส่วนใหญ่แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี