วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Recorded Diary 14

April 28 , 2016 (เรียนชดเชย)


แผนIEP
  • แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
  • เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
  • ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
  • โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
การเขียนแผน IEP
  • คัดแยกเด็กพิเศษ
  • ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
  • ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
  • เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
  • แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
IEP ประกอบด้วย
  • ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
  • ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
  • การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
  • เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
  • ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
  • วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
  • ได้เรียนรู้ความสามารถของตน
  • ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
  • ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องเหมาะสม
  • ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
ประโยชน์ต่อครู
  • เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
  • เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
  • ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
  • เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
  • ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
  • ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
  • ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
  • เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
    1. การรวบรวมข้อมูล
    2. การจัดทำแผน
            - กำหนดจุดมุ่งหมาย
            - จุดมุ่งหมายระยะยาว
            - จุดมุ่งหมายระยะสั้น
    3. การใช้แผน
    4. การประเมินผล



กิจกรรมภายในห้องเรียน

วงกลมบอกนิสัย




Instructor Rating
       อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม แจกแจงรายละเอียดของวิชานี้ได้อย่างถูกต้องและเข้าใจง่าย


The Atmosphere in the Room
       ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์ใช้สอยได้ตามปกติ

Self Assessment
        เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ร่วมแสดงความคิดเห็น ตั้งใจร่วมทำกิจกรรม

Rating Friends
        เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา ส่วนใหญ่แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี

Recorded Diary 13

April 22 , 2016




  • เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
  • ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด
  • เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)

1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
  • เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
  • เกิดผลดีในระยะยาว
  • เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
  • แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program; IEP)
  • โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน
2. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
  •  การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Training)
  •  การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
  • การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)
3. การบำบัดทางเลือก
  • การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
  • ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
  • ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
  • การฝังเข็ม (Acupuncture)
  • การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)

การสื่อความหมายทดแทน
(Augmentative and Alternative Communication ; AAC)
  • การรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies)
  • โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System ; PECS)
  • เครื่องโอภา (Communication Devices)
  • โปรแกรมปราศรัย
บทบาทของครู
  • ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู
  • ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
  • จัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
  • ให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
     1. ทักษะทางสังคม
            - เด็กพิเศษทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่
            - การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข
      2. ทักษะภาษา
            - ทักษะการรับรู้ภาษา
            - การแสดงออกทางภาษา
            - การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
      3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
            - การสร้างความอิสระ เช่น เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง , อยากทำงานตามความสามารถ , เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่าและผู้ใหญ่
      4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
            - การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
            - มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
            - เด็กรู้สึกว่า "ฉันทำได้"
            - พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
            - อยากสำรวจ อยากทดลอง



Instructor Rating
       อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม แจกแจงรายละเอียดของวิชานี้ได้อย่างถูกต้องและเข้าใจง่าย


The Atmosphere in the Room
       ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์ใช้สอยได้ตามปกติ

Self Assessment
        เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ร่วมแสดงความคิดเห็น ตั้งใจร่วมทำกิจกรรม

Rating Friends
        เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา ส่วนใหญ่แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี