วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Recorded Diary 14

April 28 , 2016 (เรียนชดเชย)


แผนIEP
  • แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
  • เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
  • ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
  • โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
การเขียนแผน IEP
  • คัดแยกเด็กพิเศษ
  • ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
  • ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
  • เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
  • แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
IEP ประกอบด้วย
  • ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
  • ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
  • การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
  • เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
  • ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
  • วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
  • ได้เรียนรู้ความสามารถของตน
  • ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
  • ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องเหมาะสม
  • ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
ประโยชน์ต่อครู
  • เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
  • เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
  • ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
  • เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
  • ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
  • ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
  • ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
  • เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
    1. การรวบรวมข้อมูล
    2. การจัดทำแผน
            - กำหนดจุดมุ่งหมาย
            - จุดมุ่งหมายระยะยาว
            - จุดมุ่งหมายระยะสั้น
    3. การใช้แผน
    4. การประเมินผล



กิจกรรมภายในห้องเรียน

วงกลมบอกนิสัย




Instructor Rating
       อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม แจกแจงรายละเอียดของวิชานี้ได้อย่างถูกต้องและเข้าใจง่าย


The Atmosphere in the Room
       ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์ใช้สอยได้ตามปกติ

Self Assessment
        เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ร่วมแสดงความคิดเห็น ตั้งใจร่วมทำกิจกรรม

Rating Friends
        เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา ส่วนใหญ่แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี

Recorded Diary 13

April 22 , 2016




  • เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
  • ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด
  • เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)

1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
  • เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
  • เกิดผลดีในระยะยาว
  • เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
  • แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program; IEP)
  • โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน
2. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
  •  การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Training)
  •  การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
  • การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)
3. การบำบัดทางเลือก
  • การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
  • ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
  • ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
  • การฝังเข็ม (Acupuncture)
  • การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)

การสื่อความหมายทดแทน
(Augmentative and Alternative Communication ; AAC)
  • การรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies)
  • โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System ; PECS)
  • เครื่องโอภา (Communication Devices)
  • โปรแกรมปราศรัย
บทบาทของครู
  • ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู
  • ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
  • จัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
  • ให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
     1. ทักษะทางสังคม
            - เด็กพิเศษทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่
            - การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข
      2. ทักษะภาษา
            - ทักษะการรับรู้ภาษา
            - การแสดงออกทางภาษา
            - การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
      3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
            - การสร้างความอิสระ เช่น เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง , อยากทำงานตามความสามารถ , เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่าและผู้ใหญ่
      4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
            - การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
            - มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
            - เด็กรู้สึกว่า "ฉันทำได้"
            - พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
            - อยากสำรวจ อยากทดลอง



Instructor Rating
       อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม แจกแจงรายละเอียดของวิชานี้ได้อย่างถูกต้องและเข้าใจง่าย


The Atmosphere in the Room
       ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์ใช้สอยได้ตามปกติ

Self Assessment
        เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ร่วมแสดงความคิดเห็น ตั้งใจร่วมทำกิจกรรม

Rating Friends
        เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา ส่วนใหญ่แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี

วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2559

Recorded Diary 12

April 1 , 2016


การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
          เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา



การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
  • การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
  • เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
  • เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้

การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)

  • การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
  • เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
  • มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
  • เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน


ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม

(Inclusive Education)

  • การศึกษาสำหรับทุกคน
  • รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
  • จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
  • ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
  • "สอนได้"
  • เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
     1. ครูไม่ควรวินิจฉัย
          - การวินิจฉัย หมายถึง การตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
          - จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
     2. ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
          - เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
          - ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
          - เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
     3. ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
          - พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
          - พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
          - ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
          - ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
          - ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา


วาดดอกบัว



Instructor Rating
       อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม แจกแจงรายละเอียดของวิชานี้ได้อย่างถูกต้องและเข้าใจง่าย


The Atmosphere in the Room

       ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์ใช้สอยได้ตามปกติ

Self Assessment
        เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ร่วมแสดงความคิดเห็น ตั้งใจร่วมทำกิจกรรม

Rating Friends
        เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา ส่วนใหญ่แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี

Recorded Diary 11

March 25 , 2016

อาจารย์แจกใบคำตอบคืน
พร้อมเฉลยข้อที่ถูก


Recorded Diary 10

March 18 , 2016

สอบกลางภาควิชานี้


Recorded Diary 9

March 11 , 2016

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
              - มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ
              - แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
              - มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
              - เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆไม่ได้
              - เด็กที่ควบคุถมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
              - ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย

ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
         - ความวิตกกังวล (Anxiety) ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว
         - ภาวะซึมเศร้า (Depression) มีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป
         - ปัญหาทางสุขภาพ และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต

การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ

    ด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)
         - ทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ ลักทรัพย์
         - ฉุนเฉียวง่าย หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด
         - กลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโกหก ชอบโทษผู้อื่น
         - เอะอะและหยาบคาย
         - หนีเรียน รวมถึงหนีออกจากบ้าน
         - ใช้สารเสพติด
         - หมกมุ่นในกิจกรรมทางเพศ
    ด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration)
         - จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น อาจไม่เกิน 20 วินาที
         - ถูกสิ่งต่างๆรอบตัวดึงความสนใจได้ตลอดเวลา
         - งัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใดๆ รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด
    สมาธิสั้น (Attention Deficit)
         - มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆได้ หยุดหยิดไปมา
         - พูดคุยตลอดเวลา มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น
         - มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ
     การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)
         - หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น
         - เฉื่อยชา และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา
         - ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก
   1. เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)
   2. เด็กออทิสติก (Autistic) หรือออทิสซึ่ม(Autisum)

เด็กสมาธิสั้น 
(Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorders)




      ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวช มีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ คือ
  • Inattentiveness
  • Hyperactivity
  • Impulsiveness


ยารักษาโรคสมาธิสั้นที่มีใช้ในประเทศไทย

Methylphenidate

Atomoxetine


เด็กพิการซ้อน
(Children with Multiple Handicaps)
  • เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
  • เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
  • เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
  • เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด

Skills
      สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้รับมือในการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านต่างๆได้

Instructor Rating
       อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม แจกแจงรายละเอียดของวิชานี้ได้อย่างถูกต้องและเข้าใจง่าย


The Atmosphere in the Room
       ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์ใช้สอยได้ตามปกติ

Self Assessment
        เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ร่วมแสดงความคิดเห็น ตั้งใจร่วมทำกิจกรรม

Rating Friends
        เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา ส่วนใหญ่แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี  

Recorded Diary 8

March 4 , 2016

ไม่มีการเรียนการสอน